การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อเป็นมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาสำนักงาน ให้ข้าราชการมีทัศนติ การประพฤติปฏิบัติที่สะท้อนการมีคุณธรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี ยึตมั่นในหลักธรรมเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตตามแนวทาง “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู”
พอเพียง หมายถึง ความพอเพียงในการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง มีเหตุ มีผลใช้ความรู้ในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ มีความพอประมาณพอดี ไม่เขียดเบียนตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม ไม่ประมาทสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
วินัย หมายถึง การยึดมั่นและรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ทั้งวินัยต่อตนเองในการผลักดันชีวิตให้ก้าวหน้า วินัยต่อองค์กร สังคม ปฏิบัติตามจริยธรรมจรรยาบรรณและเคารพต่อกฎหมาย
สุจริต หมายถึง ความชื่อตรง ความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่น ยืนหยัดในการรักษาความจริง ความถูกต้องความเป็นธรรมทั้งปวง นอกจากตนเองจะเป็นคนชื่อตรงแล้ว ต้องกล้าปฏิเสธการกระทำที่ไม่ซื่อตรง ไม่ซื่อสัตย์ของบุคคลอื่นที่จะทำให้ส่วนรวมเกิดความเสียหาย
จิตอาสา หมายถึง การเป็นผู้ที่ใส่ใจต่อสังคมสาธารณะและอาสาลงมือทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีใช่หน้าที่ของตน ด้วยความรัก ความสามัคคี เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ของสังคม ของประเทศชาติโดยมิได้หวังผลตอบแทน ทำความดีเพื่อความดี เอื้ออาทรต่อคนร่วมสั่งคม ทำอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย
กตัญญู หมายถึง สำนึกรู้คุณและแสดงออกถึงความกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สถาบันองค์กรและผู้มีพระคุณ นับตั้งแต่ บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของอาจเป็นการกระทำหรือความจริงใจบนหลักพื้นฐานของความถูกต้องดีงาม
ทั้งนี้ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ ได้น้อมนำหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาเป็นหลักดังนี้
1. ระเบิดจากข้างใน เป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด ต้องให้เกิดจากความตระหนัก มุ่งมั่น ตั้งใจ มีเป้าหมาย
เดียวกันของผู้บริหารและบุคลากรในสำนักงาน หากทำโตยถูกบังคับหรือทำตามกระแส นโยบายไม่ตั้งใจจริง
จะไม่เกิดผลหรือยั่งยืน
2. ทำแบบองค์รวม ต้องทำพร้อมกันทั้งระบบ ทุกตำแหน่งขององค์กร โดยให้ประสานสอดแทรกไปกับการบริหารและการทำงานปกติขององค์กร โดยไม่แยกออกมาเป็นโครงการหรือกิจกรรมเดี่ยว ที่ขาดความเชื่อมโยงกับระบบใหญ่ขององค์กร
3. ทำตามหลักความจริง ต้องทำจากสภาพความจริงขององค์กร โดยมีการศึกษาสภาพปัญหาและต้นทุนความดีขององค์กรให้เป็นระบบ แล้วลงมือทำตามลำดับขั้นตอน แก้ปัญหาที่จุดเล็กๆก่อน ทำง่ายๆ ไม่ไปยึดติดกับตำราการเรียนรู้จากที่อื่น เป็นเพียงแนวทางมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรของตน
4. การมีส่วนร่วม ต้องสร้างโอกาสให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม เพราะเป้าหมายสำคัญของการส่งเสริมคุณธรรม คือการทำให้คนมีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรมมากขึ้น จึงต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วม เป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม
5. ทำความดีเพื่อความดี ตั้งใจพัฒนาองค์กรคุณธรรมเพื่อสร้างองค์กรที่ดี สร้างคนดีเพื่อสังคมดีมุ่งประโยชน์ส่วนรวมโตยไม่มีเป้าหมายเคลือบแฝงเพื่อประโยชน์อื่น
คำสั่งแต่งตัั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
แนงทางการดำเนินงานตามโครงการ
รายงานผลการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม
ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน
[envira-gallery id=”81094″]