
บทคัดย่อ
ชื่อ สกุลผู้ศึกษา : สายันต์ ดวงบัณฑิต
รายงานการวิจัยเรื่อง : การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน (กรณีศึกษาโรงเรียนต้นแบบ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ
หน่วยงานที่ศึกษา : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่ศึกษาวิจัย : ปีการศึกษา 2564 – 2565
รายงานการวิจัย เรื่อง การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน (กรณีศึกษาโรงเรียนต้นแบบ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ มีจุดมุ่งหมายของการศึกษา เพื่อศึกษาการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน (กรณีศึกษาโรงเรียนต้นแบบ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนต่อการนิเทศการศึกษา เพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน (กรณีศึกษาโรงเรียนต้นแบบ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนต่อการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน (กรณีศึกษาโรงเรียนต้นแบบ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามสถานภาพ โดยแบ่งการวิจัยเป็น 2 ระเบียบวิธีการ คือ
- ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
โดยมีความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อศึกษาการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน (กรณีศึกษาโรงเรียนต้นแบบ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีกลุ่มผู้ร่วมวิจัยจากความสมัครใจ มีจำนวน 7 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 2 คน การวิจัยประยุกต์ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติ ขั้นการสังเกต และการสะท้อนผล
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย
- แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบ่งเป็น 2 ฉบับ
- แบบทดสอบ
- แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม
- แบบบันทึกการประชุม
การจัดกระทำข้อมูล ใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลหลายมิติ (Triangulation) ดังนี้
- Data Triangulation เป็นการตรวจสอบหลายมิติด้านข้อมูลประกอบด้วย มิติบุคคล มิติเวลา เป็นการตรวจสอบข้อมูลในช่วงที่ต่างกัน 3 ช่วง และมิติสถานที่เป็นการตรวจสอบข้อมูลจากสถานที่ 3 แห่ง
- Investigator Triangulation เป็นการตรวจสอบหลายมิติด้านผู้ศึกษาและผู้ร่วมศึกษา มิติบุคคลเป็นการตรวจสอบข้อมูลจากบุคคล 3 กลุ่ม
- Methodological Triangulation เป็นการตรวจสอบหลายมิติด้านวิธีการ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น
การวิเคราะห์การดำเนินการ การนิเทศเพื่อพัฒนาการนิเทศภายใน เป็นการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน การนิเทศพัฒนาการนิเทศภายใน เป็นการวิเคราะห์กลยุทธ์และกิจกรรมของกลยุทธ์ว่าได้ดำเนินการไปตามเป้าหมายหรือไม่โดยใช้การวิเคราะห์แบบพรรณาวิเคราะห์
สรุปผล
- สภาพปัจจุบันก่อนการพัฒนา พบว่า ครูนิเทศขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศภายในทั้ง 5 ขั้นตอน รวมถึงการนิเทศภายในสถานศึกษาซึ่ง ขาดทักษะในการนิเทศการสอน การสังเกตการณ์สอน และการให้คำปรึกษากับครูผู้สอน
- ผลการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน (กรณีศึกษาโรงเรียนต้นแบบ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ ตามกรอบการวิจัยโดยใช้กลยุทธ์ในแต่ละวงรอบ คือ วงรอบที่ 1 ได้แก่ กลยุทธ์กลุ่มสร้างคุณภาพ (QCC) และกลยุทธ์การพัฒนาทีมงาน วงรอบที่ 2 ได้แก่ กลยุทธ์การประชุมปฏิบัติการ และกลยุทธ์การนิเทศ
- การประชุมปฏิบัติการ และการนิเทศ ปรากฏผลตามกรอบรายด้าน ดังนี้
- การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนา ทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจในระบบการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ทำให้โรงเรียน มีระบบในการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการนิเทศภายในที่มีขั้นตอน ที่เป็นระบบชัดเจน ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดระบบที่มีประสิทธิภาพ บรรลุตามเป้าหมาย
- การวางแผนและการกำหนดทางเลือกในการนิเทศภายใน ทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจในระบบการวางแผนและกำหนดทางเลือก ทำให้โรงเรียนมีระบบการวางแผนและกำหนดทางเลือกในการนิเทศภายในที่มีขั้นตอนที่เป็นระบบชัดเจน ผู้ร่วมวิจัยสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดระบบที่มีประสิทธิภาพ บรรลุตามเป้าหมาย
- การสร้างเครื่องมือและพัฒนาวิธีการนิเทศภายใน ทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจในระบบการวางแผนและกำหนดทางเลือก ทำให้โรงเรียนมีระบบการวางแผนและกำหนดทางเลือกในการนิเทศภายในที่มีขั้นตอนที่เป็นระบบชัดเจน ผู้ร่วมวิจัยสามารถปฏิบัติตามขั้นตอน ได้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดระบบที่มีประสิทธิภาพ บรรลุตามเป้าหมาย
- การปฏิบัติการนิเทศภายใน ทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจในระบบการวางแผนและกำหนดทางเลือก ทำให้โรงเรียนมีระบบการวางแผนและกำหนดทางเลือกในการนิเทศภายในที่มีขั้นตอนที่เป็นระบบชัดเจน ผู้ร่วมวิจัยสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดระบบที่มีประสิทธิภาพ บรรลุตามเป้าหมาย
- การประเมินผลและรายงานผลการนิเทศภายใน ทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจในระบบการวางแผนและกำหนดทางเลือก ทำให้โรงเรียนมีระบบการวางแผนและกำหนดทางเลือกในการนิเทศภายในที่มีขั้นตอนที่เป็นระบบชัดเจน ผู้ร่วมวิจัยสามารถปฏิบัติตามขั้นตอน ได้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดระบบที่มีประสิทธิภาพ บรรลุตามเป้าหมาย
- ระเบียบวิธีการวิจัย เชิงสำรวจ (Survey Research)
โดยมีความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนต่อการนิเทศเพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน (กรณีศึกษาโรงเรียนต้นแบบ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนต่อการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน (กรณีศึกษาโรงเรียนต้นแบบ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามสถานภาพ ทั้งนี้ โดยกำหนดประชากร ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2564 – 2565 จำนวนทั้งสิ้น 169 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2564 – 2565 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ เครจชีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970 : 608) ซึ่งใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Random Sampling) โดยการจับสลากได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 79 คน ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) คือ สถานภาพ ของกลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรตาม (Dependent Variables) คือ ความพึงพอใจของข้าราชการครูและผู้ปกครองนักเรียนต่อการพัฒนาระบบการนิเทศภายใน ตามกรอบแนวคิดกระบวนการนิเทศภายใน 4 ด้าน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน ต่อการพัฒนาระบบการนิเทศภายใน ซึ่งมีลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของ ลิเคิร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
- สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
- สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เครื่องมือ ได้แก่ หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาโดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) และหาค่า ความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบสอบถาม
- สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐานการศึกษาโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม คำนวณค่า t-test (Independent)
สรุปผล
- ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน เป็นรายด้านและโดยรวม ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม มีความพึงพอใจต่อการนิเทศเพื่อพัฒนาการนิเทศภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบมีความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนต่อการนิเทศเพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน (กรณีศึกษาโรงเรียนต้นแบบ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ รายด้านและโดยรวม ทั้ง 4 ด้าน จำแนกตามสถานภาพ โดยใช้ค่าสถิติที (t – test) พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนต่อการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน (กรณีศึกษาโรงเรียนต้นแบบ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความพึงพอใจต่อการนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาการนิเทศภายใน มากกว่า ผู้ปกครองนักเรียน